บทที่ 4 ธรณีประวัติ

บทที่4 ธรณีประวัติ


             โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดตั้งแต่โลกเย็นลงเมื่อ 4,600 ล้านปี ซึ่งมีการเปลี่ยนทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือแบบฉับพลันเช่นการที่อุกาบาตพุ่งชนโลก ข้อมูลทั้งหมดเราสามารถอธิบายได้โดยข้อมูลดังต่อไปนี้

1) อายุทางธรณี
แบ่งออกเป็น แบบ คือ
 1.1อายุเปรียบเทียบ เป็นวิธีทางธรณีวิทยาที่ใช้ในการหาอายุของหินและกลุ่มหิน การศึกษาดังกล่าวทำได้โดยการศึกษาในภาคสนาม หรือศึกษาจากข้อมูลหลุมเจาะเก็บตัวอย่าง
 1.2อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหิน แร่ และซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน การวิเคราะห์หาปริมาณไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่ Ca-14,K-40,Rb-87,U-238 เป็นต้น


2)ซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก่อนยุคประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น ชนิด
-ซากดึดำบรรพ์ที่มีโครงร่างแข็งแรง เช่น กระดูก ฟันและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น
-ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นรอยพิมพ์ของสิ่งมีชีวิต เช่น รอยตีนสัตว์ รอยเปลือกหอย เป็นต้น
-ซากดึกดำบรรรพ์ที่ไม่ได้กลายเป็นหิน เช่น ซากแมลงในอำพัน ซากลุกช้างแมมมอธ เป็นต้น



2.1ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้แน่นอน เนื่องจาก เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีการกระจายตัวทั่วโลก และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์
2.2ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย เช่น "ภูมิเวียงโกซอรัส สิรินธรเน" "เมอริโคโปเตมัส" เป็นต้น
3)การลำดับชั้นหิน
โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการ และปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรณีวิทยา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้หินที่ปรากฏอยู่บนเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้ง ในสภาพปกติชั้นหินที่อยู่ด้านล่างจะสะสมตัวก่อน มีอายุมากกว่าชั้นหินที่วางทับอยู่ชั้นบนขึ้นมา


หินชีนสต์เป็นหินที่เกิดขึ้นก่อนหินอื่น ต่อมาคือหินแกรนิตแทรกดันขึ้นมา จากนั้นหินทั้งสองเกิดการยกตัวและถูกกัดกร่อน แล้วมีการสะสมตัวของหินตะกอนต่อเนื่องเป็นชั้นๆ บนรอยชั้นไม่ต่อเนื่องหมายเลข เหนือหินแกรนิตและหินชิสต์ หลังจากนั้นเปลือกโลกจะทำให้หินตะกอนเทเอียง ทำให้เกิดการสะสมตะกอนในกลุ่มชั้นหิน(ข) และโดยทับกลุ่มชั้นหิน (ก) ในลักษณะไม่ต่อเนื่องใน 2,3,4และต่อมาหิยตะกอนถูกแม่น้ำกัดเซาะชั้นหินพังทลายกลายเป็นเหมือนที่ราบสูง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น